รีวิววัดร่องขุ่น เที่ยววัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย วัดชื่อดังระดับโลก

หากพูดถึงวัดที่มีความวิจิตรตระการตาในจังหวัดเชียงราย เชื่อว่าคนไทยเกินกว่าครึ่งประเทศ ต้องนึกถึงวัดร่องขุ่นที่สร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์แน่นอน และวันนี้เราจะมารีวิววัดร่องขุ่นแบบไม่หมกเม็ดให้คุณผู้อ่านอ่านได้สัมผัสถึงความสวยงามของวัดแบบออนไลน์ 

ขอบคุณภาพจากวัดร่องขุ่น

วัดร่องขุ่นถูกสร้างโดยปรมาจารย์ด้านศิลปะอย่างอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2540 หากนับแล้วก็มีอายุอานามปาเขาไป 24 ปีแล้ว หากเป็นมนุษย์ก็คงอยู่ในวัยทำการทำงานแล้วแหละ สร้างด้วยงบประมาณมากกว่า 400 ล้านบาท วัดร่องขุ่นสร้างโดยการนำเอาศานาพุทธและฮินดูมาผสมผสานกัน ซึ่งออกมาได้อย่างลงตัว สมูธ ดูไม่ขัดกันเลยสักนิด วัดแห่งนี้ไม่ได้สร้างจากความสามารถของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เพียงอย่างเดียวนะ แต่สร้างมาจากแรงบันดาลใจของอาจารย์ด้วย ซึ่งมีสามสิ่งด้วยกัน ได้แก่ ชาติ ศาสน์ และกษัตริย์นั่นเอง 

ภายในวัดร่องขุ่นมีศิลปะให้แง่คิดแก่ชีวิตมากมายหลายจุด ซึ่งแต่ละจุดก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันไป เรียกได้ว่าการมาเที่ยวที่วัดแห่งนี้ทำให้มนุษย์ปลงกับสังขารที่ไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนของชีวิต และรับกับวัฏจักรของชีวิตได้อย่างปลงๆ เริ่มกันด้วยที่ปากพญามาร ปากพญามารแห่งนี้ทำให้เห็นว่าชีวิตของมนุษย์นั้นมีแต่กิเลสอยู่ในใจ มีการแก่งแย่งชิงดี ต่อสู่กัน แต่สุดท้ายก็เหลือแต่วิญญาณ ไม่สามารถเอาอะไรไปได้สักอย่าง การที่เข้าไปสู่พุทธภูมิได้นั้น มนุษย์ต้องเดินอยู่บนสะพาน และปลดปล่อยกิเลสเอาไว้ในปากพญามาร หากเมื่อได้ยึดมั่นในกิเลส ก็จะตกลงสู่ห้วงล่าง

ความหมายของจุดต่อไปที่อยากให้ดู คือ ระหว่างทางบนสะพานนั้น จะมีกิเลสมารทั้งหมด 16 ตัว แบ่งออกเป็นข้างละ 8 ตัวซ้ายขวาเท่าๆกัน ซึ่งแต่ละตัวนั้นมีความหมายในตัวเอง              คุณสามารถเสิร์ชหาความหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกิเลส 16 ได้บนอินเทอร์เน็ต อุปกิเลส 16 หมายความว่า กว่ามนุษย์เราจะเดินทางไปสู่หนทางแห่งความเจริญสติปัญญาได้นั้น เราต้องฝ่าฟัน และต่อสู้กับกิเลสมารในใจตนเองถึง 16 ตนด้วย หากต่อสู้ได้สำเร็จก็สามารถเดินทางไปยังเขาพระสุเมรุได้ แต่หากต่อสู้ไม่สำเร็จ คุณก็จะเสียเวลาชีวิตตรงนั้นไปอย่างไม่มี

จุดต่อมาคือ สระน้ำ หมายถึง สีทันดรมหาสมุทร คือทะเลทั้ง 7 ที่มีความกว้างใหญ่ไพศาลเกินกว่าจะคาดถึง ไม่มีสิ่งใดสามารถลอยเหนืออยู่บนน้ำได้ แม้แต่ฝุ่นผงอันเบาบางก็จมลงสู่ก้นทะเล เนื่องจากเป็นน้ำที่มีความละเอียดมาก หรือหากจะเรียกว่าน้ำทิพย์ก็ย่อมได้ ทะเลแห่งนี้มีเพียงเหล่าเทวดา ผู้มีจิตบริสุทธิ์ หรือผู้มีบุญญาธิการเท่านั้น ถึงจะสามารถข้ามผ่านไปได้ นอกจากนี้ในสระน่้ำที่ทางวัดขุดสร้างขึ้นยังมีฝูงปลาคาร์ฟหลากสีสัน คอยแหวกว่ายเล่นน้ำให้ชมอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นจุดเพิ่มความสบายตาให้กับนักท่องเที่ยวได้ไม่น้อยเลย 

มาต่อกันด้วยที่บันได บันไดจะมีทั้งหมด 3 ขั้น แต่ละชั้นมีความหมายที่ต่างกัน คือ อนิจจัง   ทุกขัง อนัตตา ซึ่งหมายถึงสัจธรรมของชีวิตที่ไม่เที่ยงแท้ ไม่มีอะไรแน่นอน ต้องอยู่กับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งชีวิตและสิ่งของ ทุกอย่างในชีวิตนั้นปราศจากความคงทน ต้องดับสูญสิ้น หรือย่อยไปตามวาระนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมี่ทีมีความหมาย ให้ข้อคิดสติเตือนใจอีกมากมายหลายจุด ที่เด่นไม่แพ้กันกับสถาปัตยกรรมที่กล่าวมา ก็คือ รูปปั้นหัวมนุษย์น้อยใหญ่ ที่ถูกแขวนเอาไว้บนต้นไม้ บ้างก็มีต้นหนวดฤาษีเจริญเติบโตโผล่ทะลุปาก 

ขอบคุณภาพจากวัดร่องขุ่น

นอกจากความหมายต่างๆของงานประติมากรรมแล้ว บอกเลยว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ถ่ายรูปได้สวยงามมาก แม้จุดประสงค์ของวัดจะสร้างขึ้นมาเพื่อกล่าวถึงบาปบุญและวัฏจักรของชีวิตมนุษย์ อาจจะทำให้บางจุดนั้นดูน่ากลัว แต่เอาเข้าจริงๆพอถ่ายรูปออกมาสวยมาก อย่างกับกำลังใช้ชีวิตอยู่บนสวรรค์เลย เพราะโทนสีขาวของวัดนี่เองค่ะ ที่ส่งให้ภาพที่ถ่ายที่นี่ออกมาเป็นอย่างนั้น แนะนำว่าหากใครจะมาถ่ายรูปแบบจริงจัง ต้องมาตอนช่วงเย็นๆสักประมาณ 16.00 น. เป็นต้นไป หรืออาจมาตอนที่พระอาทิตย์ใกล้ตกดินยิ่งดี ภาพที่ออกมารับรองว่าสวยแน่นอน เพราะแสงกำลังดี ท้องฟ้าเล่นไล่ระดับสลับสีเข้ม-อ่อนเป็นฉากหลัง ส่งให้สถาปัตยกรรมของวัดในแต่ละจุดมีความเด่นเป็นสง่าเป็นอย่างมาก

ยังๆ วัดแห่งนี้ยังทีไฮท์ไลท์อีกหนึ่งอย่างที่ทุกคนควรเข้าไปชม คือ หอศิลป์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่รวบรวมผลงานศิลปะเอาไว้มากมาย แต่ละภาพนั้นมีรายละเอียดที่สวยงามมากๆ เอาจริงๆนะ โดยปกติแล้วโซนนี้จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาชมมากกว่าชาวไทย ทางเราอยากให้คนไทยได้ไปชมศิลปะดีๆที่สวยงามระดับฝีมือปรมาจารย์ด้านศิลปะบ้าง พูดตรงนี้เลยว่าภาพวาดแต่ละชิ้นนั้น ล้วนเป็นการสร้างสรรค์ที่ออกมาจากจิตวิญญาณทั้งนั้น ขอเตือนสักนิดหนึ่งว่าทางหอศิลป์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ นั้นไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพนะคะ ดังนั้นก็เคารพกฏกติกาของทางพิพิธภัณฑ์อย่างเคร่งครัดค่ะ 

จุดยอดนิยมถ่ายภาพอีกหนึ่งจุด คือ รูปปั้นของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งถูกจัดวางในท่านั่งสบายๆ บนม้านั่ง ด้วยสไตล์การแต่งตัวสบายๆตามแบบอย่างจิตรกรหลายๆท่าน จุดนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่หากไม่ได้มาถ่าย ถือว่ามาไม่ถึงวัดร่องขุ่นนะคะ หากมาเยือนแล้ว อย่าลืมเข้ามาถ่ายภาพคู่กับหุ่นจำลองของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์กันนะ

 

ค่าเข้าชม
– สำหรับคนไทยฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
– สำหรับชาวต่างชาติในสถานการณ์โควิดนี้ฟรีเช่นกัน 
หากอยากได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ให้สอบถามที่ Facebook หรือโทรฯ 053-673-579

เวลาทำการ
จันทร์ – อาทิตย์ เวลา 08.00 – 17.00 น. หรือสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook
เพราะอาจมีการเปลียนแปลงเวลาทำการในช่วงสถานการณ์ Covid – 19

การเดินทาง
วัดร่องขุ่น ตั้งอยู่ที่ 60 หมู่ที่ 1 ถ. พหลโยธิน ตำบลป่าอ้อดอนไชย อำเภอเมืองเชียงราย เชียงราย 57000 หรือสามารถเปิด Google Map โดยการคลิกที่นี่

 

 

 
 

 

คุณพึงพอใจกับโพสต์นี้หรือไม่

ให้คะแนนโพสต์

ความพึงพอใจโดยรวม 4.9 / 5. นับคะแนน 189

โพสต์ยังไม่มีคะแนน คุณสามารถเป็นคนแรกที่ให้คะแนนเรา